จีเอ็มโอ2 - จีเอ็มโอ2 นิยาย จีเอ็มโอ2 : Dek-D.com - Writer

    จีเอ็มโอ2

    ก้จีเอ็มโออะ

    ผู้เข้าชมรวม

    990

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    990

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  12 มิ.ย. 51 / 15:19 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      อะไร ? คือ จีเอ็มโอ (GMOs)

      อะไร ? คือ จีเอ็มโอ (GMOs)
      โดย: นางพูนศรี เลิศลักขณวงศ์

      จีเอ็มโอ (GMOs) มาจากภาษาอังกฤษ Genetically Modified Organisms
      หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม ( ยีน ) โดยการตัดแต่งเอายีนของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งมาใส่เข้าไปในสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง เพื่อให้มีลักษณะที่ต้องการดีเด่นขึ้น เช่น มีความต้าน ทาน ต่อโรคและแมลง เน่าเสียช้าลง ให้ผลผลิตสูงขึ้น มีสารอาหารบางตัวเพิ่มขึ้น

      กินอาหารจีเอ็มโอในระยะยาวมีผลกับร่างกายหรือไม่
      ขณะนี้ยังไม่มีรายงานถึงผู้ที่กินอาหารที่มีส่วนประกอบจีเอ็มโอเข้าไปแล้วเกิดผลเสียต่อร่างกาย ในระยะยาว แต่มีความกังวลต่อความเสี่ยงของการใช้ GMOs เช่น กรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้
      สารอาหารจาก GMOs อาจมีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตราย เช่น เคยมีข่าวว่ากรดอะมิโน
      L-Tryptophan ทำให้ผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาเกิดอาการป่วยและล้มตาย อย่างไรก็ตาม กรณีที่เกิดขึ้นนี้แท้จริงแล้วเป็นผลมาจากความบกพร่องในขั้นตอนการควบคุมคุณภาพ ทำให้มีสิ่งปนเปื้อนหลงเหลืออยู่หลังจากกระบวนการทำให้บริสุทธิ์มิใช่ตัว GMOs ที่เป็นอันตราย
      สารอาหารจาก GMOs อาจมีคุณค่าทางโภชนาการไม่เท่าอาหารปกติในธรรมชาติ เช่น
      รายงานที่ว่าถั่วเหลืองตัดแต่งพันธุกรรมมี isoflavone มากกว่าถั่วเหลืองธรรมดาเล็กน้อย ซึ่งสารชนิดนี้เป็นกลุ่มของสารที่เป็น phytoestrogen ( ฮอร์โมนพืช ) ทำให้มีความกังวลว่า การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน เอสโตรเจน อาจทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคหรือไม่ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กทารก จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาผลกระทบของการเพิ่มปริมาณสาร isoflavone ต่อกลุ่มผู้บริโภค
      ความกังวลต่อการเกิดสารภูมิแพ้ (allergen) ซึ่งอาจได้มาจากแหล่งเดิมของยีนที่นำมาใช้ทำ GMOs นั้น ตัวอย่างที่เคยมี เช่น การใช้ยีนจากถั่ว Brazil nut มาทำ GMOs เพื่อเพิ่มคุณค่าโปรตีนในถั่วเหลืองสำหรับเป็นอาหารสัตว์

      ประเทศไทยกับจีเอ็มโอ
      ประเทศไทยไม่อนุญาตให้มีการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ที่เป็นจีเอ็มโอในเชิงพาณิชย์ นอกจากอนุญาตให้นำเข้ามาเพื่อการศึกษา วิจัย ทดลอง

      เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของพืช GMOs

      ข้อดีข้อเสีย
      1. สามารถต้านทานโรคพืชชนิดรุนแรงได้1. เกิดสารก่อภูมิแพ้
      2. สามารถต้านทานต่อยาปราบวัชพืช2. การต้านยาปฏิชีวนะ
      3. สามารถต้านทานอุณหภูมิต่ำๆ ได้3. เกิดไวรัสชนิดใหม่หรือทนทานต่อความแห้งแล้ง ความร้อน
      4. วัชพืชชนิดใหม่4. สามารถขยายอายุการเก็บได้
      5. ศัตรูพืชที่มีความต้านทานสูงขึ้น5. ทนต่อสภาพการขนส่งได้ดีขึ้น
      6. สารพิษชนิดใหม6. มีผลต่อการแปรรูป
      7. เกิดการผูกขาดพันธุ์พืช7. มีคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น เช่น การเพิ่ม
       8. เป็นทาสความรู้ทางเทคโนโลยี
      ปริมาณบีต้าแคโรทีน และธาตุเหล็กในข้าวเจ้า
       9. ราคาสินค้าอาจแพงขึ้นหลังจากถูกลง

      การตัดต่อยีนของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไปใส่ในสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งซึ่งปกติไม่มียีนชนิดนั้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตเดิม ซึ่งกว่าที่จะเกิดสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดขึ้นในโลกตามธรรมชาติได้ ต้องใช้ระยะเวลานับล้านๆ ปี แต่มนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในพริบตาเดียว ถ้าไม่มีการควบคุมปริมาณ การบริหารจัดการที่ดี และจำกัดปริมาณเฉพาะเพื่อใช้ประโยชน์เท่าที่จำเป็น จนเกิดการแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม จึงเท่ากับเป็นการล้างเผ่าพันธุ์เดิม หรือสร้างเผ่าพันธุ์ใหม่ ซึ่งอาจมีผลกระทบไปถึงสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ซึ่งอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลย์มาเป็นเวลาช้านาน
      ที่มาhttp://nutrition.anamai.moph.go.th/temp/main/view.php?group=3&id=77

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×